วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การวิเคราะห์พื้นที่ และสภาพแวดล้อม เพื่อการออกแบบจัดสวน

ความสำคัญของการสำรวจพื้นที่และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการออกแบบจัดสวนนั้น นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเราสามารถนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ หรือ การทำ Site Analysis จะถูกนำมาเป็นเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ใช้พิจารณาในการออกแบบ ตั้งแต่การกำหนดพื้นที่ ใช้สอย การกำหนดแนวทางในการปรับแก้สภาพแวดล้อมให้เหมาะต่อการปลูกวัสดุพืชพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นการปรับระดับดิน การปรับแก้สภาพดินให้เหมาะต่อ การเพาะปลูก ตลอดจนการเลือกวัสดุ
พืชพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่

ทิศทางแดดและลม
WIND & SUN DIRECTION
สำหรับตัวบ้านต้องมีการออกแบบและจัดวางพื้นที่ใช้สอยที่ต้องการความสะดวกสบาย เช่น ห้องรับแขก ห้องอาหาร ห้องพักผ่อน ห้องนอน ไว้ในบริเวณหรือด้านที่สามารถรับลมได้ดี และหลีกเลี่ยงไม่ให้บริเวณดังกล่าวโดนแดดส่องถึง และขณะเดียวกันก็จัดบริเวณที่ต้องการแดด เช่น ส่วนซักล้าง โรงจอดรถ หรือส่วนที่ไม่สำคัญ หรือต้องการความสะดวกสบายไว้ทางด้านที่ต้องเจอแดด จะเห็นได้ว่าตำแหน่งของห้องที่สำคัญต่างๆ จะอยู่ทางทิศเหนือ หรือทิศตะวันออก และตำแหน่งส่วนซักล้างหรือโรงจอดรถ จะอยู่ทางทิศใต้ หรือทิศตะวันตก เพราะห้องสำคัญสามารถรับลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ได้ดี ถือเป็นการออกแบบให้ถูกต้องตามหลักการออกแบบที่เกี่ยวกับเรื่องการจัดวาง Lay Out และ Orientation ส่วนบริเวณที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงแดดหรือความร้อนได้ ก็จะต้องใช้การออกแบบส่วนของโครงสร้างหรือการเลือกวัสดุพันธุ์ไม้เข้ามาช่วยสร้างสภาวะสบายให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาต่อไป

สภาพดินและสภาพภูมิประเทศ
สภาพดิน SOIL CONDITIONING
เราจำเป็นจะต้องทราบข้อมูลของดินก่อนที่จะทำการปลูก เพื่อที่จะทำการปรับสภาพดิน โดยเราอาจใช้วิธีเลือกต้นไม้ให้เข้ากับสภาพดิน หรือทำการปรับสภาพดิน
กรรมวิธีในการปรับสภาพดินสามารถทำได้โดย
1. เติมสิ่งที่ขาดลงไปในดิน
2. ปรับปรุงความหยาบ ความละเอียดของดิน
3. ควบคุมระบบระบายน้ำ
4. ทำปุ๋ยจากเศษใบไม้ผุ กิ่งไม้และใบไม้ที่ตัดแต่งกิ่ง

เปลี่ยนดิน ในกรณีที่ดินเดิมมีสภาพแย่มาก

สภาพภูมิประเทศ TOPOGRAPHY
เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับระดับดิน โดยจะต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวกับระดับดินเดิม ซึ่งจะพิจารณาร่วมไปกับการกำหนดพื้นที่ใช้สอย และทำการปรับพื้นที่ ให้สอดคล้องกับแนวคิดในการกำหนดพื้นที่ใช้สอย การปรับพื้นที่รวมถึงการขุดและการถมที่เพื่อให้ได้ระดับที่ต้องการ หรือเป็นการปรับปรุง รูปร่างและลักษณะของพื้นที่เพื่อเตรียมการระบายน้ำ
การระบายน้ำแบ่งออกได้เป็น 2 ทางคือ
1. การระบายน้ำทางผิวดิน Surface Drainage
2. การระบายน้ำใต้ผิว Subsurface Drainage

ป้ายกำกับ: , ,

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก